Pretty Welcome Signs from
DollieCrave.com

สื่อจากการสังเกตการเรียนการสอน

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สวัสดีค่ะ เมื่อวันที่ 10-11 เราได้มีการสอบการสอนหน้าชั้นเรียนกัน มันช่างเป็นอะไรที่ตื่นเต้นเอามากๆเลยนะ มันทำอะไรไม่ถูกเลย แต่แล้วพอถึงเวลาที่ต้องออกไปสอนจริงๆ คำพูดทุกอย่างที่ซ้อมไว้กลับกลายหายไปหมดเลย

หน่วยที่สอนเรื่อง "แมลง" ชั้นอนุบาล 1 (วันที่ 2)
แผนการสอนดังนี้


ขั้นนำ
ครูให้เด็กๆตอบปริศนาคำทายเกี่ยวกับ ‘แมลง”
ขั้นสอน
1.ครูนำบัตรภาพแมลงบางชนิดมาให้เด็กสังเกต
2. ให้เด็กดูแผนภูมิแสดงส่วนต่างๆของแมลง แล้วสนทนาถึงรูปร่าง ลักษณะของแมลง
ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงรูปร่าง ลักษณะของแมลงโดยใช้ภาพประกอบ




**เพิ่มเติม**
ปริศนาคำทาย
1.อะไรเอ่ย ชื่อน่ากลัวตัวน่ารัก (ผีเสื้อ)
2.อะไรเอ่ย ตัวเล็กๆ มีโพรงอยู่ใต้ดิน (มด)
3.อะไรเอ่ย ตัวเล็กๆ ชอบดูดเลือด (ยุง)

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553

สวัสดีค่ะ สำหรับการเรียนการสอน อาจารย์อธิบายถึงวิธีการจัดประสบการณ์ และจากนั้นก็อธิบายเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับเนื้อหาและวิธีการสอนของแต่ละอนุบาลอย่างละเอียด ซึ่งการเรียนการสอนในวันนี้ยาวนานมาก ถึงประมาณหกโมงเย็น แต่ก็ได้ความรู้เยอะมากเลยค่ะ

เนื้อหาการเรียนการสอน
***การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ***
ต้องรู้"วิธีการเรียนรู้" (การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้ลงปฏิบัติจริงกับสิ่งนั้น) ได้แก่
- รู้พัฒนาการ
- รู้ความต้องการของเด็ก
- รู้ธรรมชาติของเด็ก เช่น การเล่น (เป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้)

***วิธีการเรียนรู้ของเด็ก***
คือ ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัส โดยผ่านประสทสัมผัสทั้ง 5 จากการได้ลงมือกระทำ

***วิธีการสอนคณิตศาสตร์***
อาจมีหลายวิธีที่แตกต่างกันไป แต่วิธีที่สำคัญที่สุด คือ การสอนจากของจริง >>> ภาพ >>> สัญลักษณ์

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 28 มกราคม 2553

สวัสดีค่ะ พออาจารย์ได้เข้าห้องอาจารย์ก็เริ่มตรวจงานก่อน ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งในห้องก็แบ่งเป็นกลุ่ม A และ กลุ่ม B สำหรับเราได้กลุ่ม B เรื่อง ดอกไม้ค่ะ แต่สำหรับในห้องจะมีการสับสนนิดหน่อยระหว่าง กลุ่ม A และกลุ่ม B ว่าได้เรื่องอะไร
หลังจากนั้นอาจารย์ก็อธิบายหัวข้อและเนื้อหาที่แต่ละอนุบาลต้องสอน อาจารย์เริ่มอธิบายของกลุ่มดอกไม้ก่อน ว่าต้องสอนอย่างไร เช่น

หน่วยดอกไม้
อนุบาล 1 มีทั้งเรื่องชื่อของดอกไม้, ลักษณะของดอกไม้, ประโยชน์ โทษ ของดอกไม้เป็นต้น
อนุบาล 2 ก็จะลงลึกขึ้น คือจะเจาะเป็นเฉพาะดอกไม้ไปเลย เช่น เรื่องดอกกุหลาบ
จะสอนเกี่ยวกับ พันธ์, ลักษณะ, สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง, อาชีพ เป็นต้น
อนุบาล 3 เน้นเรื่องการปฏิบัติจริงมากขึ้น เช่น เป็นการสอนลักษณะของโครงการ
คือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น ให้เด็กเดินดูบริเวณรอบๆโรงเรียน อาจมีให้เด็กได้ปลูกดอกไม้ ได้รู้ถึงขั้นตอนการปลูกเป็นต้น

หน่วยแมลง
ลักษณะการสอนจะคล้ายของดอกไม้ ในส่วนที่เป็นหัวข้อในการสอน
อนุบาล 1 สอนคล้ายดอกไม้ เช่น ชื่อของแมลง, ลักษณะของแมลง เป็นต้น
อนุบาล 2 สอนเกี่ยวกับยุง คือเจาะไปเฉพาะเรื่องเลย
อนุบาล 3 สอน ประเภท, การสำรวจสถานที่ที่มีแมลงเยอะๆ, วิธีทำให้แมลงมาหาเรา เป็นต้น

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 21 มกราคม 2553

สวัสดีค่ะ อาจารย์ก็ไม่ยอมเสียเวลา โดยการเริ่มอธิบายเพิ่มเติมในบางส่วนที่ต้องส่งงาน โดยให้นำวานเดิมมา
แบ่งเป็น 3 ช่วง ตามระดับอายุเด็ก

- อนุบาล 1 : 3-4 ขวบ

- อนุบาล 2 : 4-5 ขวบ

- อนุบาล 3 : 5-6 ขวบ

แล้วตกลงกันเองว่าใครจะอยู่ช่วงไหน แล้วจึงนำมาเขียนแผนทั้งหมด 5 วัน

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 7 มกราคม 2553

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆทุกคน แต่ไหนๆเข้ามาก็ขอระลึกถึงความหลังที่อาจารย์ได้สอนไปล่ะกันค่ะ ซึ่งหัวข้อโดยรวมที่สอนก็อย่างเช่น

- คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

- มาตราฐานการวัดในระบบเมตริก

- ลักษณะของหลักสูตรที่ดี

- หลักการสอน

- หลักการสอนทางคณิตศาสตร์

- ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์

สำหรับเนื้อหาที่สรุปได้จากการเรียนการสอน คือ ในการสอนไม่ว่าจะสอนอะไรก็ตามครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง รวมถึงเรื่องของการใช้สื่อที่แตกต่างกัน

หลักการสอนคณิตศาสตร์
ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังต้องเป็นผู้รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดี เช่น ธรรมชาติการเรียรู้ เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่ "อย่ากรู้อย่ากเห็น"
- สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

- เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"

- มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี

- เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรูและลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก เช่น การสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน โดยให้เด็กรินนมให้เพื่อนคนละครึ่งแก้ว,ให้เด็กนับจำนวนกล้วยใน 1 หวี

- ใช้ประโยชน์จากประสบการณืเดิมของเด็ก

บันทึกการเข้าเรียน

สวัสดีค่ะ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเท่าที่สรุปได้เรื่องที่อาจารย์ได้สอนมีดังนี้

** คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์**
1. ตัวเลข

2. ขนาด

3. รูปร่าง

4. ที่ตั้ง

5. ค่าของเงิน

6. ความเร็ว

7. อุณหภูมิ

** หลักสูตรคณิตศาสตร์ที่ดี** ต้องมีความสมดุลในเรื่องดังต่อไปนี้
1. เป็นกระบวนการคิดและพัฒนาการคิดรวบยอด

2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ

3. แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป

4. สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น และค้นค่ว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ

5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม

6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน

- มีกิจกรรมที่หลากหลาย

- ครูเปิดโอกาสให้เดฏได้ทำเอง

- เปิดโอกาสให้เดกได้ใช้สื่อที่แตกต่างกัน

** หลักการสอน**
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

2. เปิดโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"

3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี

4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรูและลำดับขั้นของพัฒนาการความคิดรวบยอดของเด็ก

5. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก

6. รู้จักใช้สถาการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์

7. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง

8. ใช้วิธีการสอนให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข

9. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

10. เน้นกระบวนการ

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สรุป Mathematic Experiences for Early Childhood


สวัสดีค่ะ ไม่ได้มาเขียนบล็อคนานมาก ต้องขอบคุณเพื่อนๆด้วยที่คอยเตือน เท่าที่จำความได้อาจารย์ได้สั่งงานไว้ ให้นำเรื่องที่อาจารย์มอบหมายให้ในของเพื่อนแต่ละกลุ่มที่ได้ มาสรุปลงใบล็อกของตนเอง
"ความหมาย"
* คณิต หมายถึงการนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ
* คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา"คณิต" หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ
" คณิตศาสตร์" หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา* คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆ
ความสำคัญของคณิตศาสตร์* คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นนอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
1.การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2.ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม 3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึก กว้างและแคบ8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

สื่อคณิตศาสตร์
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สิริมณี บรรจง (ออนไลน์) กล่างว่า สื่อการสอนหมายถึง อุปกรณ์หรือเทคนิควิธีการสอนต่างๆที่ช่วยจัดการเรียนรู้ ให้เด็กปฐมวัยให้สามารถเรียนรู้ได้ง่ายและดีขึ้น เช่น บัตรคำ นิทาน ฯลฯ
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้
สิริมณี บรรจง (ออนไลน์) ได้รวบรวมแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของฟรอเบล
ฟรอเบล เน้นสร้างสื่อการสอนที่เป็นเครื่องเล่น เพราะจุดเน้นในการจัดการเรียนรู้ของฟรอเบล คือการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ดังนั้น เขาจึงผลิตชุดอุปกรณ์ขึ้นมา 2 ชุด เรียกว่า 1.ชุดของขวัญ หรือ Gift Set 2.ชุดอุปกรณ์การงานอาชีพ สื่อการสอนของเฟอรเบลจะใช้เพื่อพัฒนาความสามารถทางสติปัญญา และกระตุ้นให้เด็กใช้พัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของมอนเตสซอรี่
เน้นส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความสามารถ และความสนใจของตนเอง โดยครูเป็นผู้จัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้มากที่สุด ซึ่งอุปกรณ์การเรียนรู้ของมอนเตสซอรี่นี้จะกอบด้วยชุดอุปกรณ์การเรียนรู้ 3 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มประสบการณ์ชีวิต เช่น ร้อยลูกปัด แต่งตัว เช็ดกระจก เป็นต้น 2. กลุ่มประสาทสัมผัส เช่น แยกความแตกต่าง ของสี กลิ่น เสียงได้ 3.กลุ่มวิชาการ เช่นเข้าใจ ตัวเลข สัญลักษณ์
3. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดไฮสโคปเน้นให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กเล่นกับวัสดุโดยตรง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย สื่อการสอนนั้นควรเน้นให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น การจำแนกวัสดุ - สิ่งของ จำนวน เวลา เป็นต้น
4. สื่อการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาเน้นการใช้ของจริง และสามารถนำไปใช้เพื่อฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านต่างๆ ได้ เช่น บล็อต่างๆ สื่อการฝึกนับ รูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ปฏิทิน นาฬิกา เป็นต้น
ตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์
ไม้บล็อค ความหมายของการเล่นไม้บล็อคกัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 19-20) ได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับไม้บล็อคในแง่มุมต่างๆไว้ดังนี้ไม้บล็อคเป็นเครื่องเล่นที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเด็กปฐมวัยเพราะเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน สามารถหยิบจับได้สะดวกและสามารถนำมาสร้างเป็นสิ่งต่างๆตามความพอใจได้เป็นเครื่องเล่นที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างมากไม้บล็อคมีรูปทรงและขนาดต่างๆกัน มีทั้งที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยม วงกลม ครึ่งวงกลม รูปโค้ง มีทั้งขนาดเล็กละใหญ่ ตัวทึบและกลวง ถ้าเป็นไม้บล็อกใหญ่จะเป็นแบบกลวง เพื่อไม่ให้น้ำหนักมากเกินไป เด็กจะได้เคลื่อนย้ายได้สะดวก (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2525 : 211)
ไม้บล็อคเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์และให้ความสนุกอย่างมากที่พบในชั้นเรียนของเด็กก่อนวัยเรียน มีหลากหลายรูปร่างหลายขนาด ผลิตจากวัสดุหลายชนิด สามารถใช้เล่นอย่างเดียวหรือนำไปประกอบ รวมเข้ากับอุปกรณ์อย่างอื่น ซึ่งนำมาถึงความสนุกสนาน การละเล่น อย่างไม่มีขีดจำกัด (Eva Essa. 1996 : 293)ความสำคัญและคุณค่าของการเล่นไม้บล็อคการเล่นไม้บล็อค ในด้านคุณค่าทางการศึกษาดังนี้
1. ให้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น กว้าง ยาว สั้น สูง หนา มากขึ้น น้อยลง2. เด็กเรียนรู้รูปทรงต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ครึ่งวงกลมและทรงกระบอก3. ให้พื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ เด็กจะเรียนรู้ว่า จะใช้แท่งไหนก่อนตรงไหน จึงจะรับน้ำหนักกันได้4. ฝึกประสาทสัมผัสตากับมือ5. ฝึกความคิดสร้างสรรค์6. พัฒนาด้านภาษา7. พัฒนาด้านอารมณ์ สังคม8. ปลูกฝังลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์9. เด็กจะเรียนรู้และฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง(กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 20-21) อ้างจาก ภรณี คุรุรัตนะ. 2535 : 19)สรุปได้ว่า สื่อการสอนคณิตศาสตร์มีความจำเป็นในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก เพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ทางด้านรูปธรรม มากกว่านามธรรม ดังนั้น ในการใช้สื่อคณิตศาสตร์สอนเด็ก ครูควรจะเน้นให้เด็กลงมือกระทำ คิด และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
อ้างอิง
กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545). การศึกาความพร้อมทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ชั้นปฐมวัย จากกิจกรรมการเล่นไม้บล็อก. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
จงรัก อ่วมมีเพียร. (2547). ทักษะพื้นฐบานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสื่อผสม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพ: บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
วัลนา ธรจักร. (2544). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาประกอบการประเมินสภาพจริง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทร์วิโรฒ.
สิริมณี บรรจง. การแก้ปัญหา วันที่4 สรุปบทเรียน วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. (ออนไลน์) แหล่งที่มา: http://Learners.in.th/blog/sasitorn-edu3204/189188. วันที่สืบค้น12 พฤศจิกายน 2552

สื่อคณิตศาสตร์

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สิริมณี บรรจง (ออนไลน์) กล่างว่า สื่อการสอนหมายถึง อุปกรณ์หรือเทคนิควิธีการสอนต่างๆที่ช่วยจัดการเรียนรู้ ให้เด็กปฐมวัยให้สามารถเรียนรู้ได้ง่ายและดีขึ้น เช่น บัตรคำ นิทาน ฯลฯ
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้
สิริมณี บรรจง (ออนไลน์) ได้รวบรวมแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของฟรอเบล
ฟรอเบล เน้นสร้างสื่อการสอนที่เป็นเครื่องเล่น เพราะจุดเน้นในการจัดการเรียนรู้ของฟรอเบล คือการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ดังนั้น เขาจึงผลิตชุดอุปกรณ์ขึ้นมา 2 ชุด เรียกว่า 1.ชุดของขวัญ หรือ Gift Set 2.ชุดอุปกรณ์การงานอาชีพ สื่อการสอนของเฟอรเบลจะใช้เพื่อพัฒนาความสามารถทางสติปัญญา และกระตุ้นให้เด็กใช้พัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ของมอนเตสซอรี่
เน้นส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความสามารถ และความสนใจของตนเอง โดยครูเป็นผู้จัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้มากที่สุด ซึ่งอุปกรณ์การเรียนรู้ของมอนเตสซอรี่นี้จะกอบด้วยชุดอุปกรณ์การเรียนรู้ 3 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มประสบการณ์ชีวิต เช่น ร้อยลูกปัด แต่งตัว เช็ดกระจก เป็นต้น 2. กลุ่มประสาทสัมผัส เช่น แยกความแตกต่าง ของสี กลิ่น เสียงได้ 3.กลุ่มวิชาการ เช่นเข้าใจ ตัวเลข สัญลักษณ์
3. สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดไฮสโคปเน้นให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กเล่นกับวัสดุโดยตรง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย สื่อการสอนนั้นควรเน้นให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น การจำแนกวัสดุ - สิ่งของ จำนวน เวลา เป็นต้น
4. สื่อการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาเน้นการใช้ของจริง และสามารถนำไปใช้เพื่อฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านต่างๆ ได้ เช่น บล็อต่างๆ สื่อการฝึกนับ รูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ปฏิทิน นาฬิกา เป็นต้น
ตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์
ไม้บล็อค ความหมายของการเล่นไม้บล็อคกัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 19-20) ได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับไม้บล็อคในแง่มุมต่างๆไว้ดังนี้ไม้บล็อคเป็นเครื่องเล่นที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเด็กปฐมวัยเพราะเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน สามารถหยิบจับได้สะดวกและสามารถนำมาสร้างเป็นสิ่งต่างๆตามความพอใจได้เป็นเครื่องเล่นที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างมากไม้บล็อคมีรูปทรงและขนาดต่างๆกัน มีทั้งที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยม วงกลม ครึ่งวงกลม รูปโค้ง มีทั้งขนาดเล็กละใหญ่ ตัวทึบและกลวง ถ้าเป็นไม้บล็อกใหญ่จะเป็นแบบกลวง เพื่อไม่ให้น้ำหนักมากเกินไป เด็กจะได้เคลื่อนย้ายได้สะดวก (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.2525 : 211)
ไม้บล็อคเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์และให้ความสนุกอย่างมากที่พบในชั้นเรียนของเด็กก่อนวัยเรียน มีหลากหลายรูปร่างหลายขนาด ผลิตจากวัสดุหลายชนิด สามารถใช้เล่นอย่างเดียวหรือนำไปประกอบ รวมเข้ากับอุปกรณ์อย่างอื่น ซึ่งนำมาถึงความสนุกสนาน การละเล่น อย่างไม่มีขีดจำกัด (Eva Essa. 1996 : 293)ความสำคัญและคุณค่าของการเล่นไม้บล็อคการเล่นไม้บล็อค ในด้านคุณค่าทางการศึกษาดังนี้
1. ให้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น กว้าง ยาว สั้น สูง หนา มากขึ้น น้อยลง2. เด็กเรียนรู้รูปทรงต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ครึ่งวงกลมและทรงกระบอก3. ให้พื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ เด็กจะเรียนรู้ว่า จะใช้แท่งไหนก่อนตรงไหน จึงจะรับน้ำหนักกันได้4. ฝึกประสาทสัมผัสตากับมือ5. ฝึกความคิดสร้างสรรค์6. พัฒนาด้านภาษา7. พัฒนาด้านอารมณ์ สังคม8. ปลูกฝังลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์9. เด็กจะเรียนรู้และฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง(กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545: 20-21) อ้างจาก ภรณี คุรุรัตนะ. 2535 : 19)สรุปได้ว่า สื่อการสอนคณิตศาสตร์มีความจำเป็นในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก เพราะเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ทางด้านรูปธรรม มากกว่านามธรรม ดังนั้น ในการใช้สื่อคณิตศาสตร์สอนเด็ก ครูควรจะเน้นให้เด็กลงมือกระทำ คิด และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
อ้างอิง
กัญญา เอื้อเชิดกุล. (2545). การศึกาความพร้อมทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ชั้นปฐมวัย จากกิจกรรมการเล่นไม้บล็อก. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
จงรัก อ่วมมีเพียร. (2547). ทักษะพื้นฐบานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสื่อผสม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพ: บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
วัลนา ธรจักร. (2544). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาประกอบการประเมินสภาพจริง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทร์วิโรฒ.
สิริมณี บรรจง. การแก้ปัญหา วันที่4 สรุปบทเรียน วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. (ออนไลน์) แหล่งที่มา: http://Learners.in.th/blog/sasitorn-edu3204/189188. วันที่สืบค้น12 พฤศจิกายน 2552